โครงการจัดการเรียนรู้สู่วิถึชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(คนพิการ)
2.แผนงาน การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้น การดำเนินงานของสำนักงาน กศน. ปีงบประมาณ พ.ศ.2558
นโยบายต่อเนื่อง นโยบายด้านการศึกษานอกระบบ1.4 ข้อ 3 มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนตามแนวคิดการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักสูตรและการจัดการะบวนการการเรียนรู้แบบบูรณาการในรูปแบบของการฝึกอบรม การประชุมสัมมนา การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และบริบทของชุมชน การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียง
สอดคล้องมาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียนในการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานที่ 1 ตัวบ่งชี้ที่ 6,7และมาตรฐานที่ 6 ตัวบ่งชี้ที่ 1
3.หลักการและเหตุผล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสแนะนำตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่
ประชาชนชาวไทย ที่เน้นทางสายกลาง ซึ่งความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล
และความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี อันจะมีผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกซึ่งจะต้องมีความรอบรู้ ความรอบคอบ ระมัดระวังในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน โดยจะต้องมีการเสริมสร้างพื้นฐานที่ดีทางจิตใจของทุกคนให้สำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน และความเพียร มีสติ ความรอบคอบเพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมภายนอก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเสมือนเสาหลักสำคัญของสังคมไทยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารงานระดับประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม การบริหารจัดการองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน จนกระทั่งการดำเนินชีวิตในระดับครอบครัว
เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินชีวิตตาม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กศน.อำเภอราชสาส์น จึงได้จัดทำโครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของได้เชิญปราชญ์ชาวบ้านมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ด้านต่างๆ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำได้อย่างเหมาะสมกับสภาพตนเอง ครอบครัวมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งสู่การพัฒนาที่อย่างยั่งยืน
4.วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
5.เป้าหมายการดำเนินงาน
เชิงปริมาณ
- นักศึกษาคนพิการ ตำบลดงน้อย จำนวน 40 คน
เชิงคุณภาพ
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
6.วิธีการดำเนินงาน
ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ฝึกปฏิบัติจริง อบรม / สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ดำเนินการนิเทศ กำกับ และติดตาม
รายงานสรุปผลโครงการ
กิจกรรมหลัก วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย สถานที่ ระยะเวลา งบ
ประมาณ
1. ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
- สำรวจความต้องการ
- เขียนโครงการ
- ประสานงานวิทยากร
- กำหนดหลักสูตร 1. เพื่อวางแผนการทำงาน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย
เกิดความตระหนัก ด้านแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ประยุกต์สู่การจัดทำแผนดำเนินชีวิต ผู้บริหาร
บุคลากร
ครู กศน.ตำบล
กศน.อำเภอ
ราชสาส์น
ธ.ค.57
2. ดำเนินการตามแผนการจัดโครงการ
2.1การให้ความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน
-การทำเกษตรผสมผสาน
1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและสภาพปัจจุบัน
2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน
, - นศ.คนพิการ ตำบลดงน้อยอำเภอราชสาส์น
บ้านนักศึกษาคนพิการตำบลดงน้อย
ธ.ค.57
3.ดำเนินการ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล
- เพื่อกำกับ ติดตาม
การดำเนินงานให้เป็นไป
ตามแผน และนำผลไปใช้
ในการพัฒนางาน - ผู้บริหาร
- บุคลากรที่รับผิดชอบ ต.ดงน้อย กศน.อำเภอราชสาส์น
30ม.ค.58
4.รายงานสรุปผลโครงการ - เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
และรายงานผลให้ผู้บริหารรับทราบ
- เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานครั้งต่อไป - ครู ผู้สอนคนพิการตำบลดงน้อย
30ม.ค.58
7.งบประมาณ
เบิกจ่ายจากงบประมาณปี 2558 การจัดการศึกษาต่อเนื่อง เป็นค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ในวงเงินประมาณการจำนวน 2,100 .- บาท เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คน โดยถัวจ่ายทุกรายการที่ได้จ่ายจริง ดังรายการต่อไปนี้
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 กลุ่ม 3 ชั่วโมง ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600. - บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์จัดทำเอกสารประกอบ/บันทึกการเรียนรู้ เป็นเงิน 500. - บาท
- ค่าวัสดุฝึกปฏิบัติ เป็นเงิน 1,000. บาท
8.แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
กิจกรรมหลัก พฤศจิกายน ธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม
โครงการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางเฉลิมพร สีเขียว ครูผู้สอนคนพิการตำบลดงน้อย
- ครูผู้สอนคนพิการตำบลดงน้อย
10. เครือข่าย
- ผู้นำชุมชน
- ปราชญ์ชาวบ้าน
- พัฒนาชุมชน
-เกษตรอำเภอราชสาส์น
11. โครงการที่เกี่ยวข้อง
- โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
- โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
- โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- โครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
- โครงการประกันคุณภาพสถานศึกษา
12. ผลลัพธ์ (Outcome)
กลุ่มเป้าหมาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
13. ดัชนีชี้วัดผลสำเร็จของโครงการ
13.1) ตัวชี้วัดผลผลิต (Output)
-ร้อยละ ๘๐ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน
-ร้อยละ ๘๐ กลุ่มเป้าหมายสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 13.2) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome)
กลุ่มเป้าหมาย ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
14. การติดตามและประเมินผลโครงการ
การสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม
แบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลงาน (บันทึกการเรียนรู้ และบัญชีครัวเรือน) และรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ
ลงชื่อ...........................................................ผู้เสนอโครงการ
(นางเฉลิมพร สีเขียว)
ครูผู้สอนคนพิการตำบลดงน้อย
ลงชื่อ...........................................................ผู้อนุมัติโครงการ
(นางสาวทองสุก ถาวรวงษ์)
ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอราชสาส์น
……………………………………………………… ผู้เห็นชอบโครงการ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น