2. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ที่หวังผลใน
1ปี ข้อ 1.1 1.2 1.3 1.4 1.6 ข้อ2 และข้อ
3 สอดคล้องกับนโยบาย ทิศทางพัฒนาประเทศและโอกาสของสำนักงาน กศน. ข้อ2 และสอดคล้องกับจุดเน้นด้านจัดบริการและภาคีเครือข่าย ข้อ 2 2.1 2.2 และ2.3
สอดคล้องกับมาตรฐานตัวบ่งชี้ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในการประเมินคุณภาพสถานศึกษาข้อที่ 1.1 เรื่อง โครงการส่งเสริมการอ่าน และ ข้อที่ 1.2
เรื่อง โครงการห้องสมุดประชาชนอำเภองาว
มาตรฐานที่ 1 ตัวบ่งชี้ที่ 1.8
มาตรฐานที่
2 ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ยุทธศาสตร์ที่3
พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
3.
หลักการและเหตุผล
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552 มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
โดยมีรายละเอียด คือกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ การกำหนดให้ปี 2552 - 2561
เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ และการกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ที่มี รมว.ศธ.เป็นประธานกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
โดยได้กำหนดเป้าหมายในการดำเนินการ เพื่อให้คนไทยได้พัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสือ
ภายในปีพ.ศ. 2556 ดังนี้ 1)
ประชากรวัยแรงงานที่เป็นผู้รู้หนังสือในระดับใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
97.21 เป็นร้อยละ 99 2) ประชากรไทยอายุ 15
ปีขึ้นไปที่สามารถอ่านออกเขียนได้มีเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 92.64 เป็นร้อยละ 95 3) ค่าเฉลี่ยในการอ่านหนังสือของคนไทย
เพิ่มขึ้นจากปีละ 5 เล่ม เป็นปีละ 10 เล่มต่อคน 4) แหล่งการอ่านได้รับการพัฒนาและเพิ่มจำนวนให้สามารถจัดบริการได้ครอบคลุมทุกตำบล/ชุมชน
อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ 5) การสร้างภาคีเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
จากสภาพปัญหาการอ่านของประชาชนในอำเภองาวนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน
และทางสำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ 2558 มีนโยบายและยุทธศาสตร์ในการการปรับรูปแบบกิจกรรมและวิธีการดำเนินการจาก
“บ้านหนังสืออัจฉริยะ” ไปสู่ “บ้านหนังสือชุมชน” และขยายการบริการให้กระจายครบทุกหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ
โดยคำนึงถึงความต้องการทางการศึกษา/การเรียนรู้ของประชาชนในพื้นที่และบริบทเฉพาะของหมู่บ้าน/ชุมชนแต่ละพื้นที่
เพื่อส่งเสริมการรู้หนังสือ การเสริมสร้างนิสัยรักการอ่าน
และการเข้าถึงข่าวสารข้อมูลและความรู้ของประชาชนอย่างทั่วถึง
โดยเชื่อมโยงการทำงานเป็นเครือข่ายกับ กศน.ตำบล/ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
และเพื่อเสริมสร้างบ้านหนังสืออัจฉริยะและพัฒนานิสัยรักการอ่านของประชาชนโดยให้
กศน.ตำบล ดำเนินการจัดหาและดำเนินการจัดกิจกรรม
และประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของกลุ่มเป้าหมาย และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านในฐานะที่เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการเสริมสร้างอัจฉริยะภาพส่วนบุคคลและความเข้มแข็งของชุมชนและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมบ้านหนังสือหรือห้องสมุดประชาชนหมู่บ้าน/ชุมชน
เนื่องจากในแต่ละพื้นที่ทั้ง 10
ตำบลมีบางพื้นที่มีความที่ห่างไกล ด้วยอุปสรรคจากการประกอบอาชีพและการทำมาหากิน
ทำให้ขาดโอกาสและได้รับบริการไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่นั้น
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาวได้ตะหนักถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการอ่าน กศน.
อำเภองาว
โดยเป็นการส่งเสริมการอ่านรวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่มีความหลากหลายใน
ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับเด็กเยาวชน นักศึกษาผู้พิการของกศน.อำเภองาว
และประชาชนทั่วไปที่ขาดโอกาส จากสภาพพื้นที่ในแต่ละตำบล/ศศช.
ที่มีระยะทางห่างไกลทำให้ไม่ได้รับความสะดวกในการเข้ารับบริการ
สามารถที่จะเข้าถึงแหล่งการอ่านและได้รับการบริการอย่างทั่วถึงครอบคลุมทุกตำบล
ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน โดยมีจุดรักการอ่านมีสื่อที่สอดคล้องกับความต้องการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการอ่านในชุมชน
ซึ่งเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตต่อไป
4.
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อจัดและส่งเสริมการอ่านให้กับนักศึกษาผู้พิการและประชาชนทั่วไป
ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2.
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เรียนรู้ตลอดชีวิตตามความสนใจและความต้องการ
3. เพื่อเป็นการพัฒนาแหล่งการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางหลากหลายและครอบคลุมทุกพื้นที่
5.
เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
1.
จำนวน 20 คน นักศึกษาผู้พิการ
กศน.อำเภองาว ผู้ดูแลคนพิการ
และประชาชนทั่วไป
ด้านคุณภาพ
1. ร้อยละ 80
ของผู้เข้าร่วมโครงการมีพึงพอใจ ในระดับดีขึ้นไป
2. มีห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญา ที่มีคุณภาพตามความ
ต้องการของ ผู้รับบริการ
และมีกิจกกรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลายและต่อเนื่อง
6. วิธีการดำเนินการ
1.
ประชุมวางแผนผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่บ้านนักศึกษาผู้พิการ
3. เวียน สื่อ หนังสือ
วารสารต่างๆตามจุด ณ บ้านนักศึกษาผู้พิการ
7.ระยะเวลาดำเนินงาน
ต.ค.57 -
ก.ย.58
8.
งบประมาณ
-
งบอัธยาศัย จำนวน -
บาท
9. แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ไม่ใช้งบประมาณ
10.
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางสาวปราณี
กสิกรรุ่งเรือง
11. ภาคีเครือข่าย
1.
กศน. ตำบล 10 แห่ง
2.
บ้านหนังสืออัจฉริยะ 42 แห่ง
12.
โครงการที่เกี่ยวข้อง
1. โครงการห้องสมุดประชาชน
2. โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ
3. โครงการส่งเสริมการอ่าน
13.
ผลลัพธ์
-นักศึกษาผู้พิการ ประชาชนทั่วไป
มีนิสัยรักการอ่าน สนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษาและหันมาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และให้ประชาชนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
14.
ดัชนีวัดผลสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัดผลสำเร็จ
-
ประชาชนได้รับการส่งเสริมการอ่านอย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่
ตัวชีวัดผลลัพธ์
-
ผู้รับบริการมีความพึงพอใจร้อยละ 80
ขึ้นไป
15. การประเมินผล/ติดตามผลโครงการ
1. มีการกำกับ นิเทศ ติดตาม
ประเมินผล และรายงานผล การดำเนินงานห้องสมุด
2. สรุปแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรม
3. รูปภาพการจัดกิจกรรม
ลงชื่อ....................................ผู้เสนอโครงการ
ลงชื่อ....................................ผู้เห็นชอบโครงการ
( นางสาวปราณี
กสิกรรุ่งเรือง ) (นางสาวดวงเดือน ขัติเตชะ )
ครูผู้สอนคนพิการ หัวหน้างานอัธยาศัย
ลงชื่อ...................................ผู้อนุมัติโครงการ
( นางนงนุช ถาวรวงศ์ )
ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น