1.
ชื่อโครงการ
การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน (การทำขนมเทียน)
2. สอดคล้องกับ
นโยบาย/มาตรฐาน/ตัวบ่งชี้ที่ 2 สอดคล้องกับนโยบายจุดเน้นการดำเนินงาน ของสำนักงาน กศน.นโยบายต่อเนื่อง
ที่1) การศึกษานอกระบบ 2 ) มุ่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนให้กับกลุ่มเป้าหมายผู้พิการและประชาชนทั่วไป
โดยจัดกิจกรรมการศึกษาที่มุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความสามารถในการจัดการชีวิตของตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
รวมทั้งการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
ครอบครัว และชุมชน
3. หลักการและเหตุผล
ขนมเทียนจัดเป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณโดยใช้คำว่าสำรับกับข้าวคาวหวาน
โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมเฉพาะในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคลและงานพิธีการ อาหารหวานที่จัดเป็นสำรับจะต้องประกอบด้วย ของหวานอย่างน้อย 5 สิ่ง ซึ่งต้องเลือกให้มีรสชาติ สีสันชนิด ตลอดจนลักษณะที่กลมกลืนกัน
แต่ละสำรับจะต้องมีผลไม้ 10 ที่ และขนมเป็นน้ำ 1 ที่เสมอขนมไทย เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสันความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด
ซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก
ๆภาคของประเทศขนมเทียนก็เป็นขนมไทยโบราณที่มีรสชาติหวาน
นุ่มกลมกล่อม เคี้ยวนุ่มลิ้น แถมมีความหอมของกลิ่นมะพร้าวกรุ่นกลั้วปาก
ซึ่งถ้าสังเกตดูตามงานมงคลแล้ว เราจะเห็นว่าขนมเทียนเป็นหนึ่งในขนมที่อยู่ในของไหว้ด้วย
และวันนี้เราจะพามาดูประวัติขนมเทียนกัน จะได้รู้ว่าทำไมขนมเทียนแสนอร่อยนี้
ถึงโผล่ไปอยู่ในงานมงคลให้เราได้เห็นอยู่ตลอด
ขนมเทียนเป็นขนมโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัย
นำเข้ามาพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ และลัทธิความเชื่อในเรื่องของเทพเจ้า
ซึ่งในสมัยนั้นขนมเทียนจะถูกนำไปใช้ในพิธีบวงสรวง สังเวย ไหว้ครู
และเป็นขนมไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ด้วยเหตุที่มีความเชื่อกันว่า
ขนมเทียนเป็นขนมที่องค์พระพิฆเนศวรทรงโปรดมากที่สุด
ถึงขนาดที่กินจนท้องแตกก็ยังกอบเอาขนมที่หกเลอะอยู่ที่พื้นกลับเขาท้องอีกครั้งด้วยความเสียดาย
ขนมเทียนจึงเหมือนเป็นขนมที่ใช้ถวายต่อองค์พระพิฆเนศวร เพื่อขอพรจากพระองค์ท่าน
ให้ทำกิจการงานต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จ ไม่มีอุปสรรคอะไรมากีดขวางนั่นเอง
ขนมเทียน มีลักษณะเป็นแป้งลูกกลม ๆ
ข้างในมีไส้ที่ทำด้วยมะพร้าวเคี่ยวกับน้ำตาล แล้วนำไปนึ่งให้สุก
กับไส้มะพร้าวหวานลิ้นหรือไส้เค็ม หอมหวนชวนกินส่วนขนมเทียนนั้น
ก็ถือเป็นเป็นขนมไหว้เจ้าอีกชนิดหนึ่ง ก็มีต้นกำเนิดมาจากการดัดแปลงขนมเข่งเช่นกัน
โดยใช้แป้งข้าวเหนียวมากวน และใส่ไส้ถั่วบด ผสมกับเครื่องปรุง กลายเป็นไส้เค็ม หรือไส้เค็มจากนั้นห่อด้วยใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยมเล็ก
ๆ คล้ายทรงเจดีย์ แล้วนำไปนึ่งจนสุก
นอกจากชื่อขนมเทียนแล้ว บางคนก็นิยมเรียกว่า ขนมนมสาว
และชาวภาคเหนือก็นิยมเรียกว่า ขนมจ็อกอีกด้วย
ซึ่งโดยส่วนมากแล้วขนมเทียนจะนิยมใช้เป็นขนมในงานบุญวันสงกรานต์
และชาวจีนก็นำไปใช้ในงานวันตรุษจีนด้วยเช่นกัน ดังนั้นเป็นขนมที่ทำจากแป้งกวนกับน้ำตาล
แล้วนำไปนึ่งเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งที่ต้องเป็นขนมแป้งนึ่งก็เนื่องจากว่า
ทั้งขนมเทียนและขนมเข่ง ต่างก็มีความหมายเป็นมงคล สื่อถึงความหวานชื่น ความราบรื่น
และความอุดมสมบูรณ์
4. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับขนมไทย
2. เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้คนรุ่นใหม่รู้จักขนมไทย
3. เพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ไทย
5. เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
- นักศึกษาผู้พิการและประชาชนทั่วไป จำนวน 20 คน
เชิงคุณภาพ
- ร้อยละ 80 ของผู้รับบริการ
สามารถทำขนมไทยได้ถูกต้องตามขั้นตอน
6. วิธีดำเนินการ
กิจกรรมหลัก
|
วัตถุประสงค์
|
กลุ่มเป้าหมาย
|
เป้าหมาย
|
พื้นทีดำเนินการ
|
ระยะเวลา
|
งบประมาณ
|
1.สำรวจความต้องการอาชีพ
|
1.เพื่อทราบความต้องการในการฝึกอาชีพ
|
นักศึกษาผู้พิการและประชาชนในพื้นที่ตำบลหลวงใต้
หลวงเหนือ
|
20 คน
|
บ้านวังควาย ม.6
ตำบลหลวงใต้
|
เมษายน
|
-
|
2.ให้ความรู้และวิธีการทำขนมเทียน
|
1.เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำขมเทียน
2.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำขนมไทยได้ถูกต้องตามขั้นตอน
|
นักศึกษาผู้พิการและประชาชนในพื้นที่ตำบลหลวงใต้
หลวงเหนือ
|
20 คน
|
บ้านวังควาย ม.6
ตำบลหลวงใต้
|
กรกฎาคม
|
-
|
3.การวัดผลและประเมินผล
|
ติดตามผลประเมินผลความสำเร็จของการจัดกิจกรรม
|
นักศึกษาผู้พิการและประชาชนในพื้นที่ตำบลหลวงใต้
หลวงเหนือ
|
20 คน
|
บ้านวังควาย ม.6
ตำบลหลวงใต้
|
กรกฎาคม
|
-
|
7. เงินงบประมาณทั้งโครงการ
-
8.
แผนการใช้จ่ายงบประมาณ
-
9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
2.นางสาวปราณี กสิกรรุ่งเรือง
10. เครือข่าย
- กศน.ตำบลหลวงใต้
11.
โครงการที่เกี่ยวข้อง
-
12. ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้รับบริการที่ได้รับการฝึกอาชีพ
สามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้
13.
ดัชนีวัดผลสำเร็จของโครงการ
13.1 ตัวชี้วัดผลผลิต (Output)
- เชิงปริมาณ จำนวนผู้รับบริการ 20 คน
- เชิงคุณภาพ ผู้พิการและประชาชนที่ได้เข้ารับบริการฝึกอาชีพมีความรู้สามารถนำไปใช้
ในการประกอบอาชีพ หรือเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้
13.2
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome)
1. ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพมีความพึงพอใจต่อการฝึกอาชีพตามที่ตนเองต้องการ
2. ผู้เข้ารับการฝึกอาชีพสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ
หรืออาชีพเสริมต่อไป
ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
14. การติดตามและประเมินผลโครงการ
1.
ติดตามจากการสุ่มตรวจและนิเทศ
2.
ติดตามจากประชาชน ที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอาชีพนำไปใช้ประโยชน์
ลงชื่อ....................................................ผู้เสนอโครงการ
(นางสาวปราณี กสิกรรุ่งเรือง)
ครูผู้สอนคนพิการ
ลงชื่อ....................................................ผู้เห็นชอบโครงการ
(นายประจวบ
จำปาวัน)
หัวหน้างานการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
ลงชื่อ....................................................ผู้เห็นชอบโครงการ
(นางนงนุช ถาวรวงศ์)
ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น